วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

หอยเสียบ

      หอยเสียบ (Pharella javanica) บางแห่งอาจเรียก หอยมีดโกน หอยเสียบ หอยเสียบทราย ชื่อสามัญ  : Razor clam, Knife jacked clam, Cultellus clam บางครั้งอาจจะทำให้สับสนซึ่งชื่อตามภาษาไทยในท้องถิ่น เหมือนกันกับหอยเสียบ (หอยเสียบทราย)ที่มีชื่อสามัญ Donax wedge shell หรือ Pacific bean donex ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยู่ต่างจำพวกกัน
    ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้นๆที่เป็นโคลนแข็งหรือโคลนแข็งปนทราย ในประเทศไทยพบมากที่ชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม (ตั่งแต่ชายฝั่งตำบลบางขุนไทร - แหลมหลวงในเขตตำบลแหลมผักเบี้ย) พบน้อยมากในจังหวัดชลบุรี มีพบบ้างที่หาดราไว จังหวัดภูเก็ต  หอยชนิดนี้พบได้บริเวณชายหาดที่มีโคลนเหมาะแก่การอยู่อาศัย ในจังหวัดเพชรบุรี ตั่งแต่บริเวณตำบล บางขุนไทรถึงแหลมหลวง โดยเป็นแหลมยื่นไปในทะเลเป็นแนวเขตแบ่งทะเลกับหาดทรายและหาดโคลน โดยส่วนมากจะอาศัยในพื้นกระซ้าผสมโคลนตมที่อยู่ในทะเล โดยในอดีตการเก็บหอยเริ่มต้นจากการชาวบ้านมาหาหอยแคงที่มีอยู่ตามหาดโคลนชายฝั่ง    กินพวก พวกไดอะตอม แพลงตอนพืช และแพลงตอนสัตว์บางชนิด เป็นอาหาร


   จะเริ่มการเก็บหอย บริเวณน้ำแห้งหลังจากที่น้ำลงแล้วจะปรากฏรูของหอย ซึ่งมักจะออกมาหาหอยเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวในช่วงหลังฤดูทำนาอันเป็นอาชีพหลักในสมัยก่อน    แต่ได้มีการเล่าว่าชาวนาจากบ้านนาบัว (ทุ่งบางแก้วในอดีต)ในตำบลบางแก้ว ใช้คานหลาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์แทงมัดข้าวเปลื่อกฟ่อนก่อนเอาไปนวด เอามาใช้หาบหอย ต่อมาคานหลาวนั้นได้หักลง จึงได้ใช้คานหลาวที่เป็นไม้ไผ่แทงลงพื้นดินทะเล ปรากฏว่า พบหอยเสียบเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้มาหาหอยเสียบ ทำไม้ปลายแหลมเช่นเดียวกับปลายของคานเหลาวมาขุดแทงเพื่อเก็บหอย ความที่เป็นไม้ไผ่จึงไม่คงทน จึงทำให้ต่างคนต่างก็คิดดัดแปลงมาเป็นเหล็ก


   หอยเสียบ เป็นหอยทะเลที่มีเปลือกแข็ง รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมซึ่งมีมุมโค้งมน บนเปลือกมีเส้นแสดงการเจริญตามความยาวของลำตัว ส่วนมากมักมีสีเหลืองอ่อนเป็นพื้นและมีน้ำตาลคาดเป็นเส้นหรือเป็นแถบกระจายอยู่ทั่วไป แต่ละตัวจะมีลวดลายสีสันต่างกันเป็นตามแหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะ ตามที่นักวิชาการได้ศึกษา และบอกไว้ว่า เป็นหอยที่มีฝาเปลือกสองชิ้นประกบกัน ไม่มีหัวใจ ขากรรไกรและลิ้น ขนาดตัวที่สมบูรณ์ที่สุดความกว้างของปากหอยประมาณ ๒  เซนติเมตร ถึง ๒.๕ เซนติเมตร เปลือกหนาสีเหลือง บริเวณปากสีเหลืองปนเขียว จะฝังตัวอยู่ในทราย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หอยทราย "หรือ "หอยสองฝา"ก็เรียก กินอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย โดยฝังตัวอยู่ในทราย ตามบริเวณที่มีเขตน้ำขึ้นลง พบทั่วไปตามชายหาด พบมากบริเวณหาดทราย   ชายฝั่งทะเลและจังหวัดใกล้เคียงแถบภาคใต้ของประเทศไทย  โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน แถบหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่


   การหาหอยเสียบของชาวบ้านที่รู้ว่าในช่วงที่นํ้าทะเลลดลง  ชาวบ้านจะชวนกันออกมาเตรียมเครื่องมือ อาจเป็นช้อน มีดทำครัว หรือหากไม่มีก็ใช้เท้าที่เป็นอาวุธประจำตัวในการขุดหาหอยเสียบโดยการใช้เท้ากวาดทรายหลังคลื่นที่ซัดขึ้นฝั่งไหลย้อนกลับลงทะเล เอามันมาล้างขัด และแช่น้ำให้มันคลายทรายคลายดินหลังจากนั้นก็นำไปดอง หรือปรุงเป็นอาหารตามท้องถิ่นนิยม เช่น ดองน้ำปลา ผัดกะเพรา ผัดพริกกับโหระพา หรือเอายำกับมะม่วงและน้ำพริกเผา แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปจะเก็บหาหอยเสียบไปทำอาหาร เช่น ผัดกระเพรา ผัดนํ้าพริกเผา หรือดองนํ้าปลาไว้กินกับข้าวต้มกุ๊ย และนำมาดองเค็ม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้ ซึ่งการปรุงดังกล่าวนั้นจะทำให้เปลือกหอยเปิดออกง่ายต่อการนำตัวหอยมากินเป็นอาหาร   


   หอยเสียบ หรือหอยทราย  ไม่ค่อยมีผู้นิยมนำไปจำหน่ายเพราะตัวเล็กต้องใช้เวลาการเก็บนานจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไปนอกจากชาวบ้านที่อยู่แถบชายทะเลทั้งฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย รู้จักหอยเสียบดี และจักนำมาปรุงเป็นอาหาร  การใช้ประโยชน์ของหอยเสียบหลังจากใช้เนื้อเป็นอาหารแล้วชาวบ้าน จะนำเปลือกหอยเสียบมาใช้ประโยชน์ ในการเกาหลัง เกาส่วนที่คันบนผิวหนังแทนเล็บมือสำหรับคนที่ไม่มีเล็บ หรือเล็บสกปรก อากัปกิริยาการใช้เปลือกหอยเกาตรงที่คัน ภาษาบ้านครู'ฑูรย์ ใช้คำว่า "จุดหน่วยคัน"


   เนื้อใช้รับประทาน นิยมนำมาแกะเปลือกเอาเนื้อทำหอยแห้ง ผัด แกง ส่วนเปลือกบดผสมลงในอาหารสัตว์  แต่ผมกับเพื่อนๆนิยมนำแบบตากแห้งมาคั่วหรือทอดทำเป็นกับแกล้ม


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:



1 ความคิดเห็น:

  1. หอยเสียบตากแห้งทอดหรือคั่วแกล้มเบียร์อร่อยมาก

    ตอบลบ