วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แมงดาทะเล


                                          แมงดาจาน
   แมงดาทะเล (Horseshoe crab) เป็นสัตว์โบราณที่พบได้ชุกชุมทั่วไปในอ่าวไทย ทั้งฝั่งทะเลด้าน จังหวัดชุมพร ถึงจันทบุรี แมงดาทะเลชอบอาศัยหมกตัวอยู่ตามพื้นโคลน หรือทรายตามชายฝั่งน้ำตื้น บริเวณอ่าว และปากน้ำ ฤดูวางไข่ของแมงดาทะเลเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกันยายน ฤดูนี้แมงดา จะชุกชุมและมีไข่ซึ่งคนชอบรับประทาน แมงดาทะเลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาไฟ หรือเห-รา (Carcinoscorpius rotundicauda ) แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่มีพิษที่เรียกว่าสาร tetrodotoxin แมงดาจาน (Tachypleus gigas) แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่ไม่มีพิษ ชาวบ้านนำมาทำเป็นอาหาร โดยทั่วไปสามารถแยกแมงดาทั้ง 2 ชนิดได้ โดยลักษณะภายนอกคือ แมงดาถ้วยตัวจะเล็กกว่า ขนาดโตเต็ม ที่ไม่เกิน 18 เซ็นติเมตร ลักษณะหางจะกลมและเรียบ ส่วนแมงดาจานตัวจะโตกว่าขนาดเต็มที่อาจโตถึง 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเฉพาะคือ ส่วนหางถ้าดูหน้าตัด หางจะเป็นสามเหลี่ยม มุมด้านบนของสามเหลี่ยมจะเป็นรอยหยักชัดเจน 



   ลักษณะเป็นพิษเข้าได้กับอาการเป็นพิษของ tetrodotoxin หรือ saxitoxin ซึ่งยับยั้งการทำงานของ sodium channel โดยตรง อาการเป็นพิษมักเกิดขึ้นภายหลังรับประทานแมงดาทะเลประมาณ 10-45 นาที หรืออาจช้าไปจนถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดและแหล่งที่อยู่ของแมงดาทะเล ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือปริมาณของสารพิษที่ได้รับ เช่นรับประทาน ไข่แมงดา อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้อ อาการมักเริ่มจากมึนงง รู้สึกชา บริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้าและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจาก มือ แขน ขา ตามลำดับ รวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางราย อาจมีน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีผลทำให้กล้าม เนื้อหายใจอ่อนแรง ผู้ป่วยอาจตายภายใน 6-24 ชั่วโมง จากการหยุดหายใจ 
   อาการพิษจากแมงดาทะเลนั้นยังไม่มี antidote เฉพาะ จึงต้องให้การรักษาแบบ supportive โดยเอาสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกายให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำ gastric lavage การให้ activated charcoal และ cathartic อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังดูแลเกี่ยวกับการหายใจ ถ้าหยุดหายใจ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงที่ไม่กินแมงดาทะเลเพราะอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอแมงดาทะเลที่มีพิษได้ แต่สำหรับคนที่ชอบกินแมงดาทะเลแล้วถ้าพบว่าหลังจากการกินแล้วรู้สึกมีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก ทำการล้างท้อง ล้วงคอทำให้อาเจียน แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คนไข้หายใจได้ หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการ แบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษโดยทั่วไป ในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเล
      มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่พบหนูน้อยวัย 8 ขวบเปิบไข่แมงดาเสียชีวิต สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับ ผู้พิสมัยเมนูไข่แมงดายำ แต่ก็มีข้อถกเถียงกันอยู่มากมายว่า บางคนกินแมงดาทะเลมาเป็นเวลาเกือบสิบกว่าปีทำไมไม่ตาย จากประสบการณ์ที่เล่าต่อกันมาว่าวิธีการกินแมงดาทะเลให้ปลอดภัยคือต้องผ่าเอาเส้นเมาออกก่อนนำมา ปรุงหรือรับประทาน ถึงแม้ว่าจะทำตามขั้นตอนแล้วก็ยังมีข่าวว่า มีคนตายจากการกินแมงดาทะเลอยู่เรื่อยมา จึงมีคำถามที่สงสัยกันอยู่ว่า “จริงหรือไม่ที่กินแมงดาทะเลทำให้ตายได้” แล้วยังมีคำถามต่อไปอีกว่า “แล้วจะกินแมงดาทะเลดีไหม” เนื่องจากรสชาติของแมงดาทะเลโดยเฉพาะไข่ของมันนั้นขึ้นชื่อว่ามีความอร่อยมาก ทำให้คนที่นิยมยำไข่แมงดา มีความรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย ดังนั้นต้องมาทำความรู้จักกับชนิดของแมงดาทะเล และพิษของมันว่าเป็นอย่างไร


                                         

    แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก เหมือนชามกะละมังคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม แมงดาทะเลมีเปลือกหนาแข็ง ห่อหุ้มอยู่ทั่วทั้งตัว มีหางแข็งยาว ปลายแหลม ยื่นออกมาหาส่วนท้ายของลำตัว สำหรับใช้ต่างสมอปักลงกับพื้นท้องทะเล เมื่อต้องการนอนนิ่งอยู่กับที่ แมงดาทะเลอาศัยอยู่ที่พื้นทะเลน้ำตื้น ๆ คลานหากินไปตามพื้นทราย กินหอยเล็ก ๆ ปูเล็ก ๆ เป็นอาหาร ศัตรูคือเต่าทะเลและฉลาม แมงดาทะเลตัวผู้กับตัวเมียมีรูปร่างคล้ายกัน แต่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่ามาก ไข่เป็นเม็ดกลมสีเหลืองขนาดเม็ดสาคู และมีจำนวนหลายร้อยฟอง
 แมงดาทะเลมีกี่ชนิด


                                         แมงดาจาน 


       แมงดาที่พบในทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือแมงดาทะแลหางเหลี่ยม มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย และ


แมงดาถ้วย แมงดาทะแลหางกลม เห-รา หรือ แมงดาไฟ มีขนาดเล็กกว่า แมงดาจานและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามคลองในป่าชายเลน
ยำไข่แมงดา
เครื่องปรุง 1.ไข่แมงดาทะเล (แมงดาถ้วย 2 ตัว, แมงดาจาน 1 ตัว), 
2.มะม่วงโชคอนันต์ดิบซอย 1 ผล, 
3.ใบสะระแหน่ 2 ต้น, 
4.หอมแดงหั่นซอย 2 หัว, 
5.พริกขี้หนูหั่นซอย 5 เม็ด, 
6.น้ำปลาอย่างดี 1 ช้อนโต๊ะ, 
7.น้ำมะนาว 2 ลูก, 
8.น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนโต๊ะ
วิธียำ 1.นำแมงดาจาน หรือ แมงดาถ้วย ไปนึ่งให้สุก แล้วดึงเส้นพิษออกให้หมด แมงดาจานให้ดึงเส้นพิษตรงกลางออก ส่วนแมงดาถ้วยเป็นความลับที่คุณโยขอเก็บไว้ให้ลูกหลานหากิน จึงไม่ควรนำแมงดาถ้วยมาทำอาหารอันตรายถึงตาย, แต่เราไปซื้อที่เค้าทำสำเร็จแล้วจะดีกว่าค่ะที่มีแต่ไข่น่ะค่ะ
2.ใช้ช้อนขูดเอาไข่ออกจากท้องแมงดาทะเล
3.ผสมเครื่องยำเข้าด้วยกัน คนให้เครื่องปรุงทุกอย่างผสมกันดี จึงนำไข่แมงดาทะเลลงไปผสมยำกับเครื่องปรุงทั้งหมด ชิมรสให้อร่อยตามใจชอบ ชอบเปรี้ยวให้เพิ่มน้ำมะนาวหรือใส่มะม่วงสับลงไป ชอบหวานให้เติมน้ำตาลปี๊บลงไปหน่อย ก็จะได้ยำแมงดาทะเลที่อร่อยแซบ

   แมงดาชนิดไหนที่มีพิษ
       ไข่ของเห-รา หรือแมงดาถ้วย และมีพิษในช่วงเดือน กพ.-มิย.    พิษของแมงดาทะเลอยู่ตรงไหน  พิษของแมงดาถ้วยน่าจะมาจาก 2 สาเหตุคือ 
1. ตัวแมงดาถ้วยไม่มีพิษแต่เกิดจากแมงดาถ้วยไปกินตัวแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กิน แพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วย
2. ตัวแมงดาถ้วยมีพิษซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง
   ความร้อนฆ่าพิษได้หรือไม่
       เมื่อนำไข่หรือเนื้อมาปรุงหรือผัดให้สุกโดยเชื่อว่าความร้อนสามารถฆ่าพิษได้นั้น ความจริงแล้วความร้อนไม่สามารถ ฆ่าพิษได้เลย เนื่องจากเป็นพิษชนิดที่มีผลต่อระบบประสาทที่ความร้อนไม่สามารถทำลายเชื้อได้


   กินแล้วจะมีอาการอย่างไร




      อาการขึ้นอยู่กับปริมาณที่กินเข้าไปมากหรือน้อย มีอาการชาที่ริมฝีปาก มือและเท้า เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากพิษของ แมงดาทะเลเป็นพิษต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่
   จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร
      วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงที่ไม่กินแมงดาทะเลเพราะอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอแมงดาทะเลที่มีพิษได้ แต่สำหรับคนที่ชอบกินแมงดาทะเลแล้วถ้าพบว่าหลังจากการกินแล้วรู้สึกมีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก ทำการล้างท้อง ล้วงคอทำให้อาเจียน แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คนไข้หายใจได้ หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการ แบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษโดยทั่วไป ในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเล




 แจ้งเตือนการบริโภค แมงดาทะเล ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน เนื่องจากไข่แมงดามีพิษ โดยฤดูผสมพันธุ์เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ถึง กันยายน มีอาการวิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม ใจสั่น


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.med.cmu.ac.th
http://www.seaanimal.com
http://www.learners.in.th

1 ความคิดเห็น: