วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาหมอทะเล



ปลาหมอทะเล (อังกฤษ: Giant grouper, Queensland grouper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ
ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร
พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ
และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด
ปลาหมอทะเล (Giant Grouper)
          ปลาทะเลที่เราบริโภคกันเป็นอาหาร และเป็นที่รู้จักกันดีชนิดหนึ่งคือปลาเก๋า หรือปลากะรัง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณปากน้ำ ริมชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปไปมีขนาดใหญ่สุดอาจยาวถึง 3 เมตร ปลาเก๋าชนิดนั้นคือ “ปลาหมอทะเล”
          ปลาหมอทะเล เป็นปลากะรังขนาดใหญ่ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาเก๋าชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังโตไม่เต็มที่มีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่างๆ
  ปลาหมอทะเล เป็นสัตว์กินเนื้อ ชอบกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว แม้จะมีขนาดใหญ่แต่ไม่ดุร้ายอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ กองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่งๆ ชาวประมงที่ดำน้ำลงไปพบปลาหมอทะเล มันอาจแสดงอาการพองเหงือกและกางครีบออกคล้ายปลากัด จึงทำให้ดูน่าสะพรึงกลัว แต่ฟันในปากมีขนาดเล็กไม่เหมือนกับฟันปลาฉลามและไม่ดุร้าย จึงไม่เป็นอันตราย
          ตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ มักนำเอาปลาหมอทะเลมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาขนาดใหญ่เสอม ไม่ว่าจะในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือในประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เชื่อง เลี้ยงง่าย ปลาหมอทะเลจึงเป็นจุดเด่นของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทุกแห่ง
   ปลาทะเลที่เราบริโภคกันเป็นอาหาร และเป็นที่รู้จักกันดีชนิดหนึ่งคือปลาเก๋า หรือปลากะรัง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณปากน้ำ ริมชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปไปมีขนาดใหญ่สุดอาจยาวถึง 3 เมตร ปลาเก๋าชนิดนั้นคือ “ปลาหมอทะเล”ปลาหมอทะเลเป็นปลากะรังขนาดใหญ่ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาเก๋าชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังโตไม่เต็มที่มีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่างๆปลาหมอทะเลเป็นสัตว์กินเนื้อ ชอบกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว 
   แม้จะมีขนาดใหญ่แต่ไม่ดุร้ายอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ กองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่งๆ ชาวประมงที่ดำน้ำลงไปพบปลาหมอทะเล มันอาจแสดงอาการพองเหงือกและกางครีบออกคล้ายปลากัด จึงทำให้ดูน่าสะพรึงกลัว แต่ฟันในปากมีขนาดเล็กไม่เหมือนกับฟันปลาฉลามและไม่ดุร้าย จึงไม่เป็นอันตราย
    ตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ มักนำเอาปลาหมอทะเลมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาขนาดใหญ่เสอม ไม่ว่าจะในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือในประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เชื่อง เลี้ยงง่าย ปลาหมอทะเลจึงเป็นจุดเด่นของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทุกแห่ง...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล. สำนักพิมพ์แพร่พิทยา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น