วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปลาริวกิว


   "ปลาริวกิว" นั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "ปลาเรียวเซียว" ครับ  เป็นปลาน้ำเค็มที่คนไทยส่วนมากชอบนำเนื้อมันมาทำแดดเดียวแล้วปรุงรสให้ออกหวานก่อนจะวางจำหน่ายเป็นแผ่นๆกินกับข้าวต้มอร่อยเหาะกันไปเลย  ส่วนไข่ปลาเรียวเซียวนั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดใสๆรวมกันเป็นกระจุกนิยมนำไปใส่ในก๋วยเตี๋ยวซึ่งจะได้รสอร่อยเคี้ยวมันไปอีกแบบ  

                                         ฝักไข่ปลาริวกิว

      แต่ถ้าคนแม่กลองหรือชาวทะเลจะชอบส่วนหัวและไข่มากกว่า แต่ถ้าดูไม่เป็นก็จะโดนคนขายหลอกเหมือนกันโดยการนำปลา "ตุกัง" ซึ่งเหมือนกันแทบทุกอย่างแต่ต่างกันแค่ทีสี สีของปลา "ตุกัง" จะมีสีเข็มกว่าปลา "ริวกิว" และเนื้อไม่อร่อยแถมยังคาวมากกว่าอีกต่างหาก คล้ายๆกับปลาดุกด้านกับปลาดุกอุยนั่นแหล่ะ

                                                 ไข่ปลาริวกิว
   โดยเรื่องอีกอย่างที่น่าสนใจคือเวลาผสมพันธุ์นั้นพอปลาตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อใส่ไข่เสร็จปุ๊ปตัวเมียก็จะปล่อยใข่พวกนั้นไว้ในปากของปลาตัวผู้ครับ  จากนั้นพ่อปลาตัวผู้จะอมไข่เอาไว้จนถึงเวลาที่ฟักเป็นตัวนั่นเอง  เวลาซื้อปลาริวกิวแดดเดียวกรุณาโปรดระวัง!!  เพราะมักมีพ่อค้าหัวเสนำ "ปลาปั๊กเป้า" ซึ่งมีราคาถูกกว่ามาทำริวกิวปลอมแล้วหลอกขาย  ซึ่งปั๊กเป้านั้นถ้าคนทำไม่มีความชำนาญก็อาจจะหลงเหลือพิษของปลาอยู่ในเนื้อจนส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตต่อผู้กินได้ครับ

                                        แกงหัวปลาที่มีทั้งเหงือกและไข่



"ปลาเรียวเซียว" พอเอ่ยชื่อปุ๊บ ทุกคนก็รู้จักปั๊บ ก็จะไม่ให้รู้จักได้อย่างไรเล่า แกงส้มไข่ปลาเรียวเซียวน่ะ โคตรแพงเชียว คิดว่าน่าจะเป็นแกงส้มที่แพงที่สุดในบรรดาแกงส้มทั้งปวงนะ เอาละๆๆ เดี๋ยวจะบอกวิธีแกงส้มปลาเรียวเซียวให้อร่อยนะ ตอนนี้มารู้จักเจ้าปลาเรียวเซียวนี้กันก่อน ปลาเรียวเซียว มีรูปร่างลักษณะคล้ายๆๆปลากด แต่ตัวจะใหญ่กว่าปลากดมาก ปลาชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ตามโขดหิน แต่ปัจจุบันหาไม่ค่อยพบแล้ว โดยเฉพาะทะเลชายฝั่งน่ะหาแทบไม่เจอเลย จะเป็นด้วยเหตุใดไม่ทราบได้ หรือจะเกิดจากน้ำทะเลชายฝั่งปนเปื้อนมาก หรือมนุษย์กวนใจ ไม่อยากจะคาดเดา แต่ที่แน่ๆๆ ต้องเรืออวนลากใหญ่ๆถึงจะได้ปลาพวกนี้เข้ามาขาย เรือเล็กๆน่ะถ้าออกไปตกปลาแถวเกาะก็น่าจะได้อยู่นะ แต่ไม่มากหรอก สมัยเราเด็กๆน่ะปลาพวกนี้ก็อยู่ไม่ไกลจากบ้านเราหรอก พ่อกับพี่ชายเราก็จับโป๊ะได้บ่อยๆๆ เราเรียกปลาชนิดนี้ว่า"ปลาเซียว" มาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ใครๆๆก็เรียกว่า"ปลาเรียวเซียว"น่าจะเป็นชื่อ ทางวิชาการละมั๊ง.... ไม่อยากคาดเดากลัวผิด เอาละๆๆเจ้าปลาเรียวเซียวนี้น่ะไม่มีเกล็ดหรอกนะ ผิวหนังก็จะเป็นสีน้ำตาลปนแดงสวยเชียว แต่ยังไงๆๆส่วนท้องก็ยังขาวเป็นมุกเชียวนะ





    ปลาชนิดนี้มีเมือกห่อหุ้มผิวหนังเมือกนี้จะมากและหนาหน่อย และจะมีเงี่ยงเหมือนปลากดนั่นแหละ เนื้อจะเป็นสีชมพูแดง ปลาชนิดนี้ส่วนหัวจะรับประทานได้และอร่อยมากด้วย เขามักจะใช้แกงส้ม เพราะคาวแรงต้องใช้น้ำพริกช่วยดับเดี๋ยวจะบอกเคร็ดลับการแกงส้มให้นะ สำหรับไข่น่ะ เป็นเม็ดใหญ่ รวมกัน
อยู่ในรังไข่ซึ่งห่อหุ้มไข่ไว้ทั้งหมดรวมสองรังคู่กัน ไข่ปลาเรียวเซียว มีราคาแพงมาก เราเคยถามแม่ค้าบอกว่าไข่สวยๆๆราคาตกกิโลกรัมละเกือบ500 บาทเชียว โอ้.....แม่จ้าว...อะไรกันนี่้ ไข่ทองคำรึไงจ๊ะ เอาละๆๆถึงแพงอย่างไรก็จะกินก็แล้วกัน ก็มันอร่อยนี่ ตัดใจซื้อจริงๆๆนะ




   การดูปลาเรียวเซียวว่าสดหรือไม่ ก็ดูจากตัวปลานั่นแหละผิวหนังลื่นมัน ไม่ถลอก ตาปลาจะมีสีสดใสไม่ขุ่น เหงือกจะเป็นสีแดงสดเนื่องจากปลาชนิดนี้ตัวมักจะใหญ่ แม่ค้าเลยต้องทำการแล่เนื้อตัดขายกัน
ขายได้ทั้งตัวเลยละ ส่วนที่ทิ้งน่ะน้อยมาก วิธีทำก็ไม่ยากเท่าไหร่ ก่อนอื่นสับเงี่ยงแข็งๆแหลมคมทิ้่งไปก่อนนะ เดี๋ยวมันจะตำเอา จากนั้นก็ตัดหัวส่วนหัวนั้นผ่าออกสองซีก ล้างให้สะอาดแล้วสับเป็นชิ้นๆๆ ใหญ่หน่อยนะเราชอบกินตรงปากน่ะอร่อยที่สุด สำหรับเหงือก ถ้าล้างเมือกออกให้หมดสะอาดดีก็กินได้ด้วยนะ ส่วนตัวปลาก็แล่เนื้อออกด้านนึง อีกด้านนึงจะติดกับกระดูกกลางตัว จากนั้นเราก็หั่นปลาเป็นชิ้นๆ พอประมาณนะถ้าปลาตัวใหญ่มากชิ้นหนึ่งก็แบ่งสองได้ สำหรับพุงปลาเราก็ขูดเศษอาหารออกเอาพุงไว้ สำหรับไข่ระมัดระวังสักนิดเอามีดเฉือนเยื่อเหนียวๆๆให้ขาดออกจากใส้ปลาแล้วเก็บไว้ทั้งพวงนั่นแหละ พวงใข่จะใหญ่ 



                                         นี่คือส่วนหัวของปลาริวกิว

   คนที่อื่นมาทำการค้าอยู่มาก น้ำพริกแกงส้มที่อื่นเขาจะใส่กระชาย บ้านเราไม่ใส่แน่ เรามีแค่พริกแห้ง หัวหอม กะปิเท่าน้้น ไปหาซื้อจากแม่ค้าในตลาดได้แต่ต้องเลือกคนศรีราชาตำนะจะได้น้ำพริกแกงส้มต้นตำรับแท้ผักที่ใช้จะใช้ผักอะไรก็ได้ แต่ถ้าจะให้ถูกกันและอร่อยดั้งเดิมเราจะแกงส้มใส่มะเขือถ้วย มะเขือถ้วยก็คือมะเขือลูกโตสีขาวและอ่อนด้วยนะแก่ไม่เอาหรือบางทีก็แกงใส่หน่อไม้ดอง ปัจจุบันคนไม่นิยมกินหน่อไม้ดองมากนักนี่คือผักที่เราใช้แกงส้มกับปลาเรียวเซียว


   เดี๋ยวนี้ตามร้านอาหารเขาจะใส่ยอดมะพร้าว และก็ผักกะเฉดกัน ก็ O.K. นะใช้ได้ ส่วนผักอื่นๆก็ขอ
บอกว่าไม่เข้ากันละลดความอร่อยลงนะ แกงส้มปลาเรียวเซียวต้องใช้น้ำมะกรูดไม่ใช้น้ำมะขามเปียกหรอกนะ เพราะน้ำมะกรูดน่ะทั้งหอมและดับกลิ่นคาวได้ชะงัดนัก ใส่ใบมะกรูดฉีกด้วยนะเวลาแกงน่ะ เห็นไม๊ดับกลิ่นคาวปลาแทบทั้งนั้น คนแกงไม่เป็นเขาก็จะใช้อะไรเรื่อยเปื่อยไปสักว่าเป็นแกงส้มก็ใช้ได้แล้วละ สำหรับเราเห็นมะกรูดลูกโตที่ไหนไม่ได้ละต้องซื้อเก็บไว้ใส่แกงส้มปลาเรียวเซียวทุกที บางครั้งแม่ค้าถามว่าเอาไปสระผมหรือก็ต้องพยักพเยิดกันไป ใครจะรู้ล่ะว่าเอาไปใส่แกงส้มกินน่ะ ผิวมะกรูดยังใช้วางในห้องน้ำ หรือในตู้เย็น ดับกลิ่นได้อีก เยี่ยมจริงๆๆ เอาละอย่าเพิ่งเบือหน่ายนะ มาตั้งน้ำละลายพริกแกงส้มลงไปตั้งไฟให้เดือดพล่านจากนั้นก็ใส่หัวปลาลงไปก่อนเพราะสุกช้า



   เมื่อเดือดสักพักก็ใส่เนื้อปลาลงไป พอเดือดพล่านอีกครั้งใส่มะเขือ หรือหน่อไม้ดอง ตามด้วยน้ำมะกรูด น้ำปลาดี ใบมะกรูด เดือดพล่านใส่ใข่ปลาลงไปทั้งพวงนั่นแหละพอเดือด ค่อยเอาทับพีคนเบาๆ ระหว่างใส่ปลาห้ามคนนะจะคาวแล้วชิมดูรสตามชอบแล้วก็ยกลง... 






ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

http://www.bloggang.com





ปลาหมอทะเล



ปลาหมอทะเล (อังกฤษ: Giant grouper, Queensland grouper) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ
ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4-100 เมตร
พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ
และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด
ปลาหมอทะเล (Giant Grouper)
          ปลาทะเลที่เราบริโภคกันเป็นอาหาร และเป็นที่รู้จักกันดีชนิดหนึ่งคือปลาเก๋า หรือปลากะรัง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณปากน้ำ ริมชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปไปมีขนาดใหญ่สุดอาจยาวถึง 3 เมตร ปลาเก๋าชนิดนั้นคือ “ปลาหมอทะเล”
          ปลาหมอทะเล เป็นปลากะรังขนาดใหญ่ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาเก๋าชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังโตไม่เต็มที่มีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่างๆ
  ปลาหมอทะเล เป็นสัตว์กินเนื้อ ชอบกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว แม้จะมีขนาดใหญ่แต่ไม่ดุร้ายอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ กองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่งๆ ชาวประมงที่ดำน้ำลงไปพบปลาหมอทะเล มันอาจแสดงอาการพองเหงือกและกางครีบออกคล้ายปลากัด จึงทำให้ดูน่าสะพรึงกลัว แต่ฟันในปากมีขนาดเล็กไม่เหมือนกับฟันปลาฉลามและไม่ดุร้าย จึงไม่เป็นอันตราย
          ตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ มักนำเอาปลาหมอทะเลมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาขนาดใหญ่เสอม ไม่ว่าจะในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือในประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เชื่อง เลี้ยงง่าย ปลาหมอทะเลจึงเป็นจุดเด่นของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทุกแห่ง
   ปลาทะเลที่เราบริโภคกันเป็นอาหาร และเป็นที่รู้จักกันดีชนิดหนึ่งคือปลาเก๋า หรือปลากะรัง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายสิบชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่บริเวณปากน้ำ ริมชายฝั่งทะเลและเกาะแก่งต่างๆ ขนาดเฉลี่ยโดยทั่วไปไปมีขนาดใหญ่สุดอาจยาวถึง 3 เมตร ปลาเก๋าชนิดนั้นคือ “ปลาหมอทะเล”ปลาหมอทะเลเป็นปลากะรังขนาดใหญ่ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาเก๋าชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังโตไม่เต็มที่มีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่างๆปลาหมอทะเลเป็นสัตว์กินเนื้อ ชอบกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว 
   แม้จะมีขนาดใหญ่แต่ไม่ดุร้ายอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ กองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่งๆ ชาวประมงที่ดำน้ำลงไปพบปลาหมอทะเล มันอาจแสดงอาการพองเหงือกและกางครีบออกคล้ายปลากัด จึงทำให้ดูน่าสะพรึงกลัว แต่ฟันในปากมีขนาดเล็กไม่เหมือนกับฟันปลาฉลามและไม่ดุร้าย จึงไม่เป็นอันตราย
    ตามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่างๆ มักนำเอาปลาหมอทะเลมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลาขนาดใหญ่เสอม ไม่ว่าจะในประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือในประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่เชื่อง เลี้ยงง่าย ปลาหมอทะเลจึงเป็นจุดเด่นของสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำทุกแห่ง...

ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล. สำนักพิมพ์แพร่พิทยา



กั้งกระดาน


กั้งกระดาน หรือ กุ้งกระดาน (อังกฤษ: Flathead lobster, Lobster Moreton Bay bug, Oriental flathead lobster) เป็นกุ้ชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกั้ง จึงนิยมเรียกกันว่ากั้ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Thenus orientalis จัดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Thenus และวงศ์ย่อย Theninae
ส่วนหัวและอกอยู่รวมกัน แต่ไม่มีกรีแหลมที่หัวลำตัวแบนและสั้นกว่ากุ้งทั่วไป ส่วนหัวแผ่ออกเป็นแผ่นใหญ่ ผิวขรุขระ เบ้าตาบุ๋มลงในขอบหน้าส่วนของหัว นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่บนก้านตา นัยน์ตาสามารถเคลื่อนไหวได้คล้ายกับตาของปู หนวดสั้น มีข้อต่อกันคล้ายใบสน แนวกลางหัวและลำตัวเป็นสันแข็ง มีขาเดิน 5 คู่ ปลายแหลมและมีขนสั้น ๆ อยู่บนขา ขาเดินคู่ที่ 5 ของตัวเมียเล็กกว่าตัวผู้มาก ลำตัวแบ่งออกเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีขาว่ายน้ำอยู่หนึ่งคู่ หางมีลักษณะเป็นแผ่นแบนประกอบด้วยรยางค์ 5 อัน อันกลางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง ใช้ในการดีดตัวหลบหนีศัตรู หัว ลำตัว และหางเป็นสีน้ำตาล มีตุ่มเล็กเรียงเป็นแถวบนลำตัว นัยน์ตาสีดำ
อาศัยอยู่บริเวณหน้าดิน แถบที่เป็นพื้นโคลนปนทราย มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร หากินสัตว์น้ำขนาดเล็กตามหน้าดินเป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในแถบอินโด-แปซิฟิก, ชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก, ทะเลแดง, ทะเลอันดามัน, ตอนใต้ของญี่ปุ่น, จีน จนถึงอ่าวมอร์ตัน ในออสเตรเลีย



นิยมรับประทานเป็นอาหาร มีรสชาติดีแต่เหนียวกว่ากุ้ง จึงนิยมแช่แข็งส่งออกขายต่างประเทศ เป็นที่นิยมกันมากที่สิงคโปร์
ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.bloggang.com
http://debitphoto.multiply.com/photos/album/93/93

แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish)

บทความเรื่อง : รายละเอียดของแมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish) 


ปรากฏตัวที่ เกาะหมาก จ.ตราด ทำให้นักท่องเที่ยว ได้รับบาดเจ็บ


จากการที่มีสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งมาปรากฏตัวอย่างเงียบๆที่ จ.ตราด ทำให้นักท่องเที่ยวบาดเจ็บ มีชื่อเรียกว่า BOX Jelly fish หรือ แมงกะพรุนกล่อง

Photobucket

   แมงกะพรุนกล่อง (box jellyfish) ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รู้จักจะสร้างพิษอันทรงพลังอย่างน่าสะพรึงกลัวเพื่อให้เหยื่อ เช่น ปลา หรือ กุ้งหมดสติหรือเสียชีวิตทันทีเพื่อไม่ให้การดิ้นรนหลบหนีของเหยื่อสร้างความเสียหายให้กับหนวดที่แสนบอบบางของมัน 
   พิษของแมงกะพรุนกล่องถือว่าเป็นหนึ่งในพิษที่เป็นอันตรายที่สุดในโลกซึ่งมีพิษในการโจมตีหัวใจ ระบบประสาท และเซลล์ผิวหนัง พิษนี้จะสร้างความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส มีรายงานว่าเหยื่อที่เป็นมนุษย์จะเกิดอาการช็อคและจมน้ำหรือเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวก่อนที่จะขึ้นถึงฝั่งด้วยซ้ำ ผู้รอดชีวิตจะมีอาการเจ็บปวดอยู่หลายสัปดาห์และมักจะมีความหวาดผวาอย่างมากในบริเวณที่สัมผัสกับหนวดแมงกะพรุน 
   แมงกะพรุนกล่องมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวต่อทะเล หรือนักพ่นพิษแห่งท้องทะเล มักอาศัยอยู่ในน้ำตามแนวชายฝั่งของออสเตรเลียตอนเหนือและทั่วอินโดแปซิฟิก มีสีฟ้าอ่อน โปร่งใส และได้ชื่อนี้มาจากรูปร่างที่เหมือนลูกบาศก์ มีหนวดมากถึง 15 เส้นที่งอกออกมาจากแต่ละมุมของช่วงตัวและสามารถยืดยาวได้ถึง 10 ฟุต (3 เมตร) หนวดแต่ละเส้นจะมีเซลล์พิษอยู่ประมาณ 5,000 เซลล์ซึ่งไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสแต่โดยการพบสารเคมีจากชั้นผิวภาพนอกของเหยื่อ 
   แมงกะพรุนกล่องเป็นสายพันธุ์ที่พัฒนาอย่างก้าวไกลกว่าแมงกะพรุนทั่วไป ด้วยการพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนที่มากกว่าการล่องลอยโดยการพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วถึงสี่น็อตท่ามกลางทะเล แมงกะพรุนกล่องมีดวงตาเกาะกลุ่มกันหกกลุ่มอยู่บนทั้งสี่ด้านของลำตัว แต่ละกลุ่มจะมีดวงตาหนึ่งคู่ซึ่งมีเลนส์ตา เรตินา ตาดำและแก้วตาที่มีประสิทธิภาพสูง แม้ว่าจะไม่มีระบบประสาทส่วนกลาง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่าแมงกะพรุนพวกนี้มีกระบวนการในการมองเห็นอย่างไร 

สรุปเกร็ดสาระ


ประเภท : สิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลัง

อาหาร : สิ่งมีชีวิต

ช่วงชีวิตเฉลี่ยตามธรรมชาติ : น้อยกว่า 1ปี

ขนาด : ยาว 10 ฟุต (3 ม.) กว้าง 10 นิ้ว (25 ซม.) 

น้ำหนัก : มากสุดถึง 4.4 ปอนด์ (2 กก.)

ชื่อกลุ่ม : Fluther หรือ smack


คุณทราบหรือไม่ ? เต่าทะเลจะไม่ได้รับผลจากการโดนพิษของแมงกะพรุนกล่องและแมงกะพรุนก็จะไม่ค่อยกินเต่าทะเล 

Photobucket 
ขนาดเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชายที่มีความสู 6 ฟุ (2ม.) 





ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:


ที่มา : http://www.nationalgeographic.com
http://www.blogger.com



หอยเสียบ

      หอยเสียบ (Pharella javanica) บางแห่งอาจเรียก หอยมีดโกน หอยเสียบ หอยเสียบทราย ชื่อสามัญ  : Razor clam, Knife jacked clam, Cultellus clam บางครั้งอาจจะทำให้สับสนซึ่งชื่อตามภาษาไทยในท้องถิ่น เหมือนกันกับหอยเสียบ (หอยเสียบทราย)ที่มีชื่อสามัญ Donax wedge shell หรือ Pacific bean donex ซึ่งแท้ที่จริงแล้วอยู่ต่างจำพวกกัน
    ถิ่นอาศัย : พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้นๆที่เป็นโคลนแข็งหรือโคลนแข็งปนทราย ในประเทศไทยพบมากที่ชายฝั่งของจังหวัดเพชรบุรี สมุทรสงคราม (ตั่งแต่ชายฝั่งตำบลบางขุนไทร - แหลมหลวงในเขตตำบลแหลมผักเบี้ย) พบน้อยมากในจังหวัดชลบุรี มีพบบ้างที่หาดราไว จังหวัดภูเก็ต  หอยชนิดนี้พบได้บริเวณชายหาดที่มีโคลนเหมาะแก่การอยู่อาศัย ในจังหวัดเพชรบุรี ตั่งแต่บริเวณตำบล บางขุนไทรถึงแหลมหลวง โดยเป็นแหลมยื่นไปในทะเลเป็นแนวเขตแบ่งทะเลกับหาดทรายและหาดโคลน โดยส่วนมากจะอาศัยในพื้นกระซ้าผสมโคลนตมที่อยู่ในทะเล โดยในอดีตการเก็บหอยเริ่มต้นจากการชาวบ้านมาหาหอยแคงที่มีอยู่ตามหาดโคลนชายฝั่ง    กินพวก พวกไดอะตอม แพลงตอนพืช และแพลงตอนสัตว์บางชนิด เป็นอาหาร


   จะเริ่มการเก็บหอย บริเวณน้ำแห้งหลังจากที่น้ำลงแล้วจะปรากฏรูของหอย ซึ่งมักจะออกมาหาหอยเป็นอาหารเลี้ยงครอบครัวในช่วงหลังฤดูทำนาอันเป็นอาชีพหลักในสมัยก่อน    แต่ได้มีการเล่าว่าชาวนาจากบ้านนาบัว (ทุ่งบางแก้วในอดีต)ในตำบลบางแก้ว ใช้คานหลาว ซึ่งเป็นอุปกรณ์แทงมัดข้าวเปลื่อกฟ่อนก่อนเอาไปนวด เอามาใช้หาบหอย ต่อมาคานหลาวนั้นได้หักลง จึงได้ใช้คานหลาวที่เป็นไม้ไผ่แทงลงพื้นดินทะเล ปรากฏว่า พบหอยเสียบเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้มาหาหอยเสียบ ทำไม้ปลายแหลมเช่นเดียวกับปลายของคานเหลาวมาขุดแทงเพื่อเก็บหอย ความที่เป็นไม้ไผ่จึงไม่คงทน จึงทำให้ต่างคนต่างก็คิดดัดแปลงมาเป็นเหล็ก


   หอยเสียบ เป็นหอยทะเลที่มีเปลือกแข็ง รูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมซึ่งมีมุมโค้งมน บนเปลือกมีเส้นแสดงการเจริญตามความยาวของลำตัว ส่วนมากมักมีสีเหลืองอ่อนเป็นพื้นและมีน้ำตาลคาดเป็นเส้นหรือเป็นแถบกระจายอยู่ทั่วไป แต่ละตัวจะมีลวดลายสีสันต่างกันเป็นตามแหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะ ตามที่นักวิชาการได้ศึกษา และบอกไว้ว่า เป็นหอยที่มีฝาเปลือกสองชิ้นประกบกัน ไม่มีหัวใจ ขากรรไกรและลิ้น ขนาดตัวที่สมบูรณ์ที่สุดความกว้างของปากหอยประมาณ ๒  เซนติเมตร ถึง ๒.๕ เซนติเมตร เปลือกหนาสีเหลือง บริเวณปากสีเหลืองปนเขียว จะฝังตัวอยู่ในทราย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "หอยทราย "หรือ "หอยสองฝา"ก็เรียก กินอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย โดยฝังตัวอยู่ในทราย ตามบริเวณที่มีเขตน้ำขึ้นลง พบทั่วไปตามชายหาด พบมากบริเวณหาดทราย   ชายฝั่งทะเลและจังหวัดใกล้เคียงแถบภาคใต้ของประเทศไทย  โดยเฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน แถบหมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่


   การหาหอยเสียบของชาวบ้านที่รู้ว่าในช่วงที่นํ้าทะเลลดลง  ชาวบ้านจะชวนกันออกมาเตรียมเครื่องมือ อาจเป็นช้อน มีดทำครัว หรือหากไม่มีก็ใช้เท้าที่เป็นอาวุธประจำตัวในการขุดหาหอยเสียบโดยการใช้เท้ากวาดทรายหลังคลื่นที่ซัดขึ้นฝั่งไหลย้อนกลับลงทะเล เอามันมาล้างขัด และแช่น้ำให้มันคลายทรายคลายดินหลังจากนั้นก็นำไปดอง หรือปรุงเป็นอาหารตามท้องถิ่นนิยม เช่น ดองน้ำปลา ผัดกะเพรา ผัดพริกกับโหระพา หรือเอายำกับมะม่วงและน้ำพริกเผา แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปจะเก็บหาหอยเสียบไปทำอาหาร เช่น ผัดกระเพรา ผัดนํ้าพริกเผา หรือดองนํ้าปลาไว้กินกับข้าวต้มกุ๊ย และนำมาดองเค็ม เนื้อใช้ปรุงอาหารได้ ซึ่งการปรุงดังกล่าวนั้นจะทำให้เปลือกหอยเปิดออกง่ายต่อการนำตัวหอยมากินเป็นอาหาร   


   หอยเสียบ หรือหอยทราย  ไม่ค่อยมีผู้นิยมนำไปจำหน่ายเพราะตัวเล็กต้องใช้เวลาการเก็บนานจึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันของคนทั่วไปนอกจากชาวบ้านที่อยู่แถบชายทะเลทั้งฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย รู้จักหอยเสียบดี และจักนำมาปรุงเป็นอาหาร  การใช้ประโยชน์ของหอยเสียบหลังจากใช้เนื้อเป็นอาหารแล้วชาวบ้าน จะนำเปลือกหอยเสียบมาใช้ประโยชน์ ในการเกาหลัง เกาส่วนที่คันบนผิวหนังแทนเล็บมือสำหรับคนที่ไม่มีเล็บ หรือเล็บสกปรก อากัปกิริยาการใช้เปลือกหอยเกาตรงที่คัน ภาษาบ้านครู'ฑูรย์ ใช้คำว่า "จุดหน่วยคัน"


   เนื้อใช้รับประทาน นิยมนำมาแกะเปลือกเอาเนื้อทำหอยแห้ง ผัด แกง ส่วนเปลือกบดผสมลงในอาหารสัตว์  แต่ผมกับเพื่อนๆนิยมนำแบบตากแห้งมาคั่วหรือทอดทำเป็นกับแกล้ม


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ: