วันอาทิตย์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แมงดาทะเล


                                          แมงดาจาน
   แมงดาทะเล (Horseshoe crab) เป็นสัตว์โบราณที่พบได้ชุกชุมทั่วไปในอ่าวไทย ทั้งฝั่งทะเลด้าน จังหวัดชุมพร ถึงจันทบุรี แมงดาทะเลชอบอาศัยหมกตัวอยู่ตามพื้นโคลน หรือทรายตามชายฝั่งน้ำตื้น บริเวณอ่าว และปากน้ำ ฤดูวางไข่ของแมงดาทะเลเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงกันยายน ฤดูนี้แมงดา จะชุกชุมและมีไข่ซึ่งคนชอบรับประทาน แมงดาทะเลในประเทศไทยมีอยู่ 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย หรือ แมงดาไฟ หรือเห-รา (Carcinoscorpius rotundicauda ) แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่มีพิษที่เรียกว่าสาร tetrodotoxin แมงดาจาน (Tachypleus gigas) แมงดาชนิดนี้เป็นแมงดาที่ไม่มีพิษ ชาวบ้านนำมาทำเป็นอาหาร โดยทั่วไปสามารถแยกแมงดาทั้ง 2 ชนิดได้ โดยลักษณะภายนอกคือ แมงดาถ้วยตัวจะเล็กกว่า ขนาดโตเต็ม ที่ไม่เกิน 18 เซ็นติเมตร ลักษณะหางจะกลมและเรียบ ส่วนแมงดาจานตัวจะโตกว่าขนาดเต็มที่อาจโตถึง 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเฉพาะคือ ส่วนหางถ้าดูหน้าตัด หางจะเป็นสามเหลี่ยม มุมด้านบนของสามเหลี่ยมจะเป็นรอยหยักชัดเจน 



   ลักษณะเป็นพิษเข้าได้กับอาการเป็นพิษของ tetrodotoxin หรือ saxitoxin ซึ่งยับยั้งการทำงานของ sodium channel โดยตรง อาการเป็นพิษมักเกิดขึ้นภายหลังรับประทานแมงดาทะเลประมาณ 10-45 นาที หรืออาจช้าไปจนถึง 3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิดและแหล่งที่อยู่ของแมงดาทะเล ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือปริมาณของสารพิษที่ได้รับ เช่นรับประทาน ไข่แมงดา อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้อ อาการมักเริ่มจากมึนงง รู้สึกชา บริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้าและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจาก มือ แขน ขา ตามลำดับ รวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางราย อาจมีน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีผลทำให้กล้าม เนื้อหายใจอ่อนแรง ผู้ป่วยอาจตายภายใน 6-24 ชั่วโมง จากการหยุดหายใจ 
   อาการพิษจากแมงดาทะเลนั้นยังไม่มี antidote เฉพาะ จึงต้องให้การรักษาแบบ supportive โดยเอาสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกายให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการทำ gastric lavage การให้ activated charcoal และ cathartic อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังดูแลเกี่ยวกับการหายใจ ถ้าหยุดหายใจ อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ส่วนวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงที่ไม่กินแมงดาทะเลเพราะอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอแมงดาทะเลที่มีพิษได้ แต่สำหรับคนที่ชอบกินแมงดาทะเลแล้วถ้าพบว่าหลังจากการกินแล้วรู้สึกมีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก ทำการล้างท้อง ล้วงคอทำให้อาเจียน แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คนไข้หายใจได้ หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการ แบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษโดยทั่วไป ในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเล
      มีข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่พบหนูน้อยวัย 8 ขวบเปิบไข่แมงดาเสียชีวิต สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้กับ ผู้พิสมัยเมนูไข่แมงดายำ แต่ก็มีข้อถกเถียงกันอยู่มากมายว่า บางคนกินแมงดาทะเลมาเป็นเวลาเกือบสิบกว่าปีทำไมไม่ตาย จากประสบการณ์ที่เล่าต่อกันมาว่าวิธีการกินแมงดาทะเลให้ปลอดภัยคือต้องผ่าเอาเส้นเมาออกก่อนนำมา ปรุงหรือรับประทาน ถึงแม้ว่าจะทำตามขั้นตอนแล้วก็ยังมีข่าวว่า มีคนตายจากการกินแมงดาทะเลอยู่เรื่อยมา จึงมีคำถามที่สงสัยกันอยู่ว่า “จริงหรือไม่ที่กินแมงดาทะเลทำให้ตายได้” แล้วยังมีคำถามต่อไปอีกว่า “แล้วจะกินแมงดาทะเลดีไหม” เนื่องจากรสชาติของแมงดาทะเลโดยเฉพาะไข่ของมันนั้นขึ้นชื่อว่ามีความอร่อยมาก ทำให้คนที่นิยมยำไข่แมงดา มีความรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย ดังนั้นต้องมาทำความรู้จักกับชนิดของแมงดาทะเล และพิษของมันว่าเป็นอย่างไร


                                         

    แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแปลก เหมือนชามกะละมังคว่ำ ทางด้านหัวโค้งกลม แมงดาทะเลมีเปลือกหนาแข็ง ห่อหุ้มอยู่ทั่วทั้งตัว มีหางแข็งยาว ปลายแหลม ยื่นออกมาหาส่วนท้ายของลำตัว สำหรับใช้ต่างสมอปักลงกับพื้นท้องทะเล เมื่อต้องการนอนนิ่งอยู่กับที่ แมงดาทะเลอาศัยอยู่ที่พื้นทะเลน้ำตื้น ๆ คลานหากินไปตามพื้นทราย กินหอยเล็ก ๆ ปูเล็ก ๆ เป็นอาหาร ศัตรูคือเต่าทะเลและฉลาม แมงดาทะเลตัวผู้กับตัวเมียมีรูปร่างคล้ายกัน แต่ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่ามาก ไข่เป็นเม็ดกลมสีเหลืองขนาดเม็ดสาคู และมีจำนวนหลายร้อยฟอง
 แมงดาทะเลมีกี่ชนิด


                                         แมงดาจาน 


       แมงดาที่พบในทะเลไทยมีอยู่ 2 ชนิดคือ แมงดาจาน หรือแมงดาทะแลหางเหลี่ยม มีขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล วางไข่ตามริมชายฝั่งที่เป็นดินทราย และ


แมงดาถ้วย แมงดาทะแลหางกลม เห-รา หรือ แมงดาไฟ มีขนาดเล็กกว่า แมงดาจานและมีสีส้มหรือน้ำตาลเข้ม อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามคลองในป่าชายเลน
ยำไข่แมงดา
เครื่องปรุง 1.ไข่แมงดาทะเล (แมงดาถ้วย 2 ตัว, แมงดาจาน 1 ตัว), 
2.มะม่วงโชคอนันต์ดิบซอย 1 ผล, 
3.ใบสะระแหน่ 2 ต้น, 
4.หอมแดงหั่นซอย 2 หัว, 
5.พริกขี้หนูหั่นซอย 5 เม็ด, 
6.น้ำปลาอย่างดี 1 ช้อนโต๊ะ, 
7.น้ำมะนาว 2 ลูก, 
8.น้ำตาลปี๊บ 1/2 ช้อนโต๊ะ
วิธียำ 1.นำแมงดาจาน หรือ แมงดาถ้วย ไปนึ่งให้สุก แล้วดึงเส้นพิษออกให้หมด แมงดาจานให้ดึงเส้นพิษตรงกลางออก ส่วนแมงดาถ้วยเป็นความลับที่คุณโยขอเก็บไว้ให้ลูกหลานหากิน จึงไม่ควรนำแมงดาถ้วยมาทำอาหารอันตรายถึงตาย, แต่เราไปซื้อที่เค้าทำสำเร็จแล้วจะดีกว่าค่ะที่มีแต่ไข่น่ะค่ะ
2.ใช้ช้อนขูดเอาไข่ออกจากท้องแมงดาทะเล
3.ผสมเครื่องยำเข้าด้วยกัน คนให้เครื่องปรุงทุกอย่างผสมกันดี จึงนำไข่แมงดาทะเลลงไปผสมยำกับเครื่องปรุงทั้งหมด ชิมรสให้อร่อยตามใจชอบ ชอบเปรี้ยวให้เพิ่มน้ำมะนาวหรือใส่มะม่วงสับลงไป ชอบหวานให้เติมน้ำตาลปี๊บลงไปหน่อย ก็จะได้ยำแมงดาทะเลที่อร่อยแซบ

   แมงดาชนิดไหนที่มีพิษ
       ไข่ของเห-รา หรือแมงดาถ้วย และมีพิษในช่วงเดือน กพ.-มิย.    พิษของแมงดาทะเลอยู่ตรงไหน  พิษของแมงดาถ้วยน่าจะมาจาก 2 สาเหตุคือ 
1. ตัวแมงดาถ้วยไม่มีพิษแต่เกิดจากแมงดาถ้วยไปกินตัวแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือกินหอยหรือหนอนที่กิน แพลงก์ตอนที่มีพิษเข้าไป ทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วย
2. ตัวแมงดาถ้วยมีพิษซึ่งเกิดจากแบคทีเรียในลำไส้สร้างพิษขึ้นมาได้เอง
   ความร้อนฆ่าพิษได้หรือไม่
       เมื่อนำไข่หรือเนื้อมาปรุงหรือผัดให้สุกโดยเชื่อว่าความร้อนสามารถฆ่าพิษได้นั้น ความจริงแล้วความร้อนไม่สามารถ ฆ่าพิษได้เลย เนื่องจากเป็นพิษชนิดที่มีผลต่อระบบประสาทที่ความร้อนไม่สามารถทำลายเชื้อได้


   กินแล้วจะมีอาการอย่างไร




      อาการขึ้นอยู่กับปริมาณที่กินเข้าไปมากหรือน้อย มีอาการชาที่ริมฝีปาก มือและเท้า เวียนศรีษะ คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ออก กลืนลำบาก หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจเป็นอัมพาต เนื่องจากพิษของ แมงดาทะเลเป็นพิษต่อระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ในเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงมากกว่าผู้ใหญ่
   จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไร
      วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือหลีกเลี่ยงที่ไม่กินแมงดาทะเลเพราะอาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเจอแมงดาทะเลที่มีพิษได้ แต่สำหรับคนที่ชอบกินแมงดาทะเลแล้วถ้าพบว่าหลังจากการกินแล้วรู้สึกมีอาการชาที่ปาก หายใจไม่ออก ทำการล้างท้อง ล้วงคอทำให้อาเจียน แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด การใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อช่วยให้คนไข้หายใจได้ หลังจากนั้นก็รักษาตามอาการ แบบเดียวกับการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษโดยทั่วไป ในปัจจุบันยังไม่มียาแก้พิษจากแมงดาทะเล




 แจ้งเตือนการบริโภค แมงดาทะเล ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง มิถุนายน เนื่องจากไข่แมงดามีพิษ โดยฤดูผสมพันธุ์เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ ถึง กันยายน มีอาการวิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม ใจสั่น


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
http://www.med.cmu.ac.th
http://www.seaanimal.com
http://www.learners.in.th

การกัดเซาะชายฝั่งคือเรื่องใหญ่

  
  ท่านที่เคยผ่านไปตามชายหาดริมอ่าวไทยในช่วงประมาณไม่ถึงสิบปีมานี้ คงจะได้เห็นภาพชายหาดถูกกัดเซาะเกือบทุกจังหวัด ตั้งแต่นราธิวาสใต้สุดขึ้นไปทางทิศเหนือแล้ววกกลับไประยองจนถึงตราด สภาพก็คล้ายๆ กับภาพที่ผมนำมาเสนอข้างต้นนี้ โปรดพิจารณาภาพนี้อย่างละเอียดนะครับ
       
        ชายฝั่งอ่าวไทยของเรายาวเกือบสองพันกิโลเมตร ถ้ามันถูกกัดเข้าไปสัก 20 เมตร ก็ทำให้ประเทศเราต้องสูญเสียพื้นที่ไปประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร ไม่น้อยเลยใช่ไหมครับ มากกว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ถูกกัมพูชายึดครองไปเกือบสิบเท่าตัว
       
       ผมไม่ได้บอกนะครับว่าเรื่องปัญหาชายแดนไม่สำคัญ สำคัญครับ สำคัญมากด้วย แต่ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเราจะปล่อยไว้อย่างนี้ก็ไม่ได้
       
       คำถามคือมีพรรคการเมืองใดมีนโยบายเกี่ยวกับเรื่องการกัดเซาะอย่างไรหรือไม่?

       
        ผมได้รับเชิญจากคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ชุดติดตามและประเมินผล) ให้ร่วมแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมขออนุญาตนำบางส่วนมาเล่าให้ท่านผู้อ่านทราบ แต่ด้วยเนื้อที่และขีดจำกัดในการสื่อสารผมจะพยายามอธิบายด้วยภาพเป็นหลัก ผมจะใช้ทั้งประสบการณ์ในวัยเด็กและวิชาการมาประกอบกัน ไม่ยากอย่างที่บางคนคิดนะครับ
       
       ภาพนี้ถ่ายที่ชายฝั่งบริเวณบ้านบ่อคณฑี ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช บ้านหลังที่ผมเกิดก็อยู่ริมชายฝั่งทะเลห่างจาก “รอ” ไปทางล่างของภาพไม่เกินหนึ่งกิโลเมตร
        ภาพนี้ถ่ายจากเครื่องร่อนสูงประมาณ 50-60 เมตร เมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้ว โดยทีมงานของ รศ.ดร.สมบูรณ์ พรพิเนตรพงศ์

       
       ที่เห็นเป็นแนวยื่นลงไปในทะเลและมีคำว่า “รอ” เป็นสิ่งก่อสร้างทำด้วยซีเมนต์ขนาดใหญ่ กว้างสัก 4 เมตร ยาว 80 เมตร เห็นจะได้ วัตถุประสงค์ก็เพื่อไม่ให้ทรายไปทับถมปิดทางระบายน้ำจากแผ่นดินลงสู่ทะเล
       
        มีคำถาม 2 ข้อ คือ (1) ทรายที่มาทับถมทางระบายน้ำนี้มาจากไหนกัน และ (2) เกิดอะไรขึ้นหลังจากที่มี “รอ” ขึ้นแล้ว
       
       คำตอบของข้อ (1) คือ ทรายพวกนี้ถูกกระแสน้ำพามาจากทางทิศใต้ของบริเวณนี้ คือมาจากจังหวัดสงขลาซึ่งอยู่ทางล่างของภาพ
       
       ถ้าจะเข้าใจเรื่องนี้ ต้องเข้าใจระบบของกระแสน้ำในอ่าวไทยซึ่งมี 3 กระแสหลัก คือ
       
       (1) จากน้ำขึ้น-น้ำลง วันละ 2 ครั้ง อิทธิพลนี้มีการกัดเซาะชายฝั่งน้อยมากเมื่อเทียบกับกระแสน้ำชนิดอื่น
       
       (2) จากกระแสลมที่ทำให้เกิดคลื่นน้ำกระทบฝั่ง โดยปกติลมในอ่าวไทยก็มีหลายชนิด เช่น ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ตุลาคมถึงมกราคม) คลื่นพวกนี้จะพัดพาเอาทรายไปทิศหนึ่ง แต่พอถึงบางช่วง (มีนาคม) ก็มีลมพัดมาจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ คลื่นก็มุ่งไปอีกทางหนึ่ง เป็นต้น


       
       ในสายตาของคนทั่วไปมักเข้าใจว่า กระแสน้ำที่เกิดจากคลื่นประเภทนี้ทำให้เกิดการกัดเซาะมาก เพราะเราเห็นต้นไม้ล้มลงไปกับตา ทรายก็หายไปเห็นๆ แต่ความจริงคือทรายหายไปจาก “สายตาเรา” จริง แต่น้ำได้นำทรายจำนวนนี้ไปกองเป็น “หาดนอกชายฝั่ง” ห่างไปจากเดิมเพียง 40-50 เมตรเท่านั้น พอฤดูกาลเปลี่ยน ทรายพวกนี้ก็จะถูกพัดกลับขึ้นมาเป็นหาดให้ได้เราเห็น ให้เราได้เหยียบอีก
       
       อย่างไรก็ตาม การกัดเซาะชายฝั่งก็เกิดขึ้นจริง ตั้งแต่ผมจำความได้ บางปีกัดก็มาก จนต้นมะพร้าวล้มเป็นแถว บางปีกัดน้อยหรือไม่กัดเลย และบางปีกลับงอกเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ
       
       (3) กระแสน้ำที่เกิดจากรูปทรงเรขาคณิตของชายฝั่ง หรือเมื่อมีการก่อสร้างวัตถุรูปทรงที่แข็งตัวลงไปในทะเล (เช่นแท่งซีเมนต์ในรูป) หรือการก่อสร้างท่าเรือ เป็นต้น ก็จะก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง
       
       กลับไปดูรูปบนอีกครั้งครับ หลังจากมีการสร้าง “รอ” ยื่นออกไปในทะเล กระแสน้ำก็เปลี่ยนทิศทาง แล้วก็ไปกัดเอาทรายชายฝั่งบริเวณที่อยู่ทางเหนือของภาพ ทรายที่เคยเคลื่อนตัวไปได้อย่างเสรี ก็ถูกกักไว้ตรงทางทิศใต้ของ “รอ” จะเคลื่อนไปทดแทนทางตอนเหนือก็ไม่ได้ ชายฝั่งที่อยู่ทางเหนือจึงถูกกัดอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีทรายใหม่มาทดแทน คล้ายกับบัญชีธนาคารที่มีแต่ถอนแต่ไม่มีการฝากเพิ่มเลย
       
       เมื่อเป็นดังนี้ ทางราชการก็แก้ปัญหาด้วยการสร้าง “เขื่อนกันคลื่น” ดังที่เห็นในภาพ แต่ทันทีที่หมดเขตเขื่อนกันคลื่นแล้ว ทางเหนือขึ้นไปก็จะถูกกัดอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยไปตลอดชายฝั่ง
       
       รูปข้างล่างนี้ผมยืนถ่ายบนชายหาด เมื่อเดือนเมษายน 2553 ภาพที่เห็นจึงไม่ชัดเจนเหมือนถ่ายจากเครื่องร่อน แต่ก็เป็นบริเวณเดียวกัน



 โปรดสังเกตกองทรายบริเวณใกล้ๆ รอ ที่เคยสะสมมานานอย่างต่อเนื่องนับสิบปีได้หายไปแล้ว แต่กลับมีกองหินขนาดไม่ใหญ่มากนักเข้ามาแทนที่ ท่านผู้อ่านคงจะมีคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นในเมื่อทรายในรูปบนอยู่มาได้อย่างยาวนาน แต่จู่ๆ ก็หายไปอย่างรวดเร็ว
       
       คำตอบอยู่ที่รูปล่างสุดครับ คือประมาณปี 2551 มีการสร้างกองหินขนาดใหญ่เป็นช่วงๆ ช่วงละประมาณ 50 เมตร ห่างออกไปจากริมน้ำชายหาดประมาณ 40-50 เมตร จำนวนหลายร้อยกอง


    ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่า เมื่อมีสิ่งก่อสร้างที่แข็งลงไปในทะเล กระแสน้ำก็เปลี่ยนไป แล้วผลกระทบก็ตามมาทันทีทันใด คือเกิดการกัดเซาะดังที่เห็นในรูป
       
       เหตุการณ์ที่ผมได้เล่ามาแล้ว มีอยู่เกือบตลอดชายฝั่งอ่าวไทย เริ่มต้นจากการก่อสร้างคอนกรีตที่แข็งตัวเพื่อจะแก้ปัญหาการเคลื่อนตัวของทรายมาถมปากทางระบายน้ำ แล้วตามด้วยการก่อสร้างเพื่อกันการกัดเซาะ ทั้งหมดนี้ไม่ทราบว่าใช้งบประมาณกี่พันล้านบาทเข้าไปแล้ว แต่ความเสียหายกลับขยายวงออกไปเรื่อย


       
       ผู้มีประสบการณ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า การก่อสร้างที่ถมลงไปในน้ำ ผู้รับเหมาจะชอบมากเพราะตรวจสอบได้ยาก ผมไม่ได้มองโลกในแง่ร้าย แต่ผมเชื่อว่านักการเมืองก็คงชอบด้วยเหมือนกัน
       
       โดยสรุปเรื่องการกัดเซาะชายฝั่งเป็นเรื่องใหญ่มากทั้งในมิติเรื่องกฎเกณฑ์ของธรรมชาติที่หลายท่านยังเข้าใจผิด และในมิติของการคอร์รัปชันที่สังคมไทยยังคลำทางไม่ถูกว่าจะแก้อย่างไร ผมไม่เห็นพรรคใดสนใจเรื่องนี้เลย สมแล้วครับที่เราต้องโหวตโน เพื่อสั่งสอนครั้งใหญ่...


ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:

 ประสาท มีแต้ม
www.manager.co.th

ทำไมทะเลจึงมีคลื่น...คำถามจากเด็กอนุบาล


ทำไมทะเลจึงมีคลื่น...คำถามจากเด็กอนุบาล
โดย ประสาท มีแต้ม

   คลื่น หมายถึง ลักษณะของการถูกรบกวน ที่มีการแผ่กระจาย เคลื่อนที่ออกไป ในลักษณะของการกวัดแกว่ง หรือกระเพื่อม และมักจะมีการส่งถ่ายพลังงานไปด้วย คลื่นเชิงกลซึ่งเกิดขึ้นในตัวกลาง (ซึ่งเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูป จะมีความแรงยืดหยุ่นในการดีดตัวกลับ) จะเดินทางและส่งผ่านพลังงานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งในตัวกลาง โดยไม่ทำให้เกิดการเคลื่อนตำแหน่งอย่างถาวรของอนุภาคตัวกลาง คือไม่มีการส่งถ่ายอนุภาคนั่นเอง แต่จะมีการเคลื่อนที่แกว่งกวัด (oscillation) ไปกลับของอนุภาค อย่างไรก็ตามสำหรับ การแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และ การแผ่รังสีแรงดึงดูด นั้นสามารถเดินทางในสุญญากาศได้ โดยไม่ต้องมีตัวกลาง
   
ลักษณะของคลื่นนั้น จะระบุจาก สันคลื่น หรือ ยอดคลื่น (ส่วนที่มีค่าสูงขึ้น) และ ท้องคลื่น (ส่วนที่มีค่าต่ำลง) ในลักษณะ ตั้งฉากกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามขวาง" (transverse wave) หรือ ขนานกับทิศทางเดินคลื่น เรียก "คลื่นตามยาว" (longitudinal wave)



                                         ภาพจาก Internet



ผมมีเหตุผลสองสามข้อในการนำเสนอบทความชิ้นนี้ คือ
       
       (1) ช่วงนี้มีข่าวเรื่องทะเลมีคลื่นสูงมากและมีผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนชายฝั่ง ดังภาพข้างบนนี้ (2) เมื่อประมาณยี่สิบปีก่อนเด็กอนุบาลคนหนึ่งซึ่งเคยตั้งคำถามว่า ทำไมทะเลจึงมีคลื่นและลมพัดไปไหน?” และ (3) ตอนที่เกิดสึนามิในประเทศไทย เมื่อน้ำทะเลลดหายไปอย่างรวดเร็วในขณะที่คนจำนวนมากวิ่งกรูกันไปจับปลา แต่เด็กผู้หญิงตัวน้อยชาวต่างชาติคนหนึ่งได้ตะโกนว่าสึนามิ ปรากฏว่าความรู้ที่เธอได้มาจากโรงเรียนทำให้หลายคนได้รอดชีวิต
       
       ปัจจุบันโลกของเรากำลังประสบกับ สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง อย่างรุนแรงมากขึ้น ดังนั้นเราควรจะมีความรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติไว้บ้าง เช่นเดียวกับเด็กๆ ในบางประเทศ อย่างน้อยก็เพื่อความเข้าใจและไม่หลงเชื่ออะไรง่ายๆ
       
       อ้อ! เด็กอนุบาลที่ตั้งคำถามอย่างแหลมคมเกินวัยคนนี้เธอติดตามพ่อแม่ไปเรียนอนุบาลที่ต่างประเทศ ปัจจุบันเธอจบแพทย์ในเมืองไทยเรียบร้อยไปแล้วครับ ภาพคลื่นกระแทกฝั่งข้างบนนี้ถ่ายจากบ้านหน้าศาล อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเพื่อนเฟซบุ๊กของผม-ขอขอบคุณด้วยครับ
       
       ก่อนที่จะตอบคำถามว่า ทำไมทะเลจึงมีคลื่น ผมขอกล่าวถึงหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อว่าท่านผู้อ่านส่วนใหญ่ทราบอยู่แล้ว แต่อาจจะขาดการเชื่อมโยงและขาดการตั้งคำถามที่ชวนให้คิดเท่านั้นเอง รับประกันว่าไม่ยากครับ โปรดอย่าเลิกอ่านเสียก่อนนะครับ เผื่อว่าเมื่อลูกหลานถามจะได้มีคำตอบให้พวกเขา
       
       หลักการในวิชาวิทยาศาสตร์ที่ว่านี้คือ หลักการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวว่า ถ้าวัตถุที่เป็นของแข็งเคลื่อนที่จากสองจุดใดๆ จะได้ว่า ผลรวมของพลังงานจลน์ (ที่ขึ้นอยู่กับความเร็วของวัตถุ) กับพลังงานศักย์ (ที่ขึ้นอยู่กับความสูง) ที่จุดทั้งสองของวัตถุนั้นต้องมีค่าเท่ากัน
       
       ลูกมะพร้าวที่อยู่บนต้นมีพลังงานจลน์เป็นศูนย์เพราะไม่มีความเร็ว แต่มีพลังงานศักย์ ถ้าลูกมะพร้าวนี้หล่นลงมาก็จะเกิดความเร็ว นั่นเพราะพลังงานศักย์ถูกเปลี่ยนมาเป็นพลังงานจลน์ ในขณะที่ยังหล่นไม่ถึงพื้น ผลรวมของพลังงานทั้งสองชนิดนี้ที่ตำแหน่งใดๆ ย่อมเท่ากันเสมอ แต่เมื่อหล่นลงถึงพื้นแล้วทั้งพลังงานศักย์และพลังงานจลน์ก็หมดไปเพราะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานที่กระแทกกับพื้นดินและพลังงานเสียงแทน แต่สรุปพลังงานไม่ได้หายไปไหน

                                          ภาพจาก Internet 
       
       เราสามารถใช้หลักการอนุรักษ์พลังงานนี้มาอธิบายการเกิดคลื่นที่เห็นในรูปที่บ้านหน้าศาลได้ ก่อนที่คลื่นจะมาปะทะกับกำแพง น้ำมีพลังงานจลน์ในระดับหนึ่ง แต่ครั้นที่มาปะทะกับกำแพง น้ำก็เคลื่อนที่ต่อไปไม่ได้ แต่ด้วยหลักการที่ว่าพลังงานไม่สูญหายไปไหน พลังงานจลน์จึงถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานศักย์ น้ำทะเลจึงถูกยกตัวสูงขึ้นดังที่เห็นในภาพ แต่จะสูงขึ้นไปเท่าใดนั้น ผมไม่อยากคำนวณให้ท่านสับสน
       
       มาที่คำถามว่า ทำไมทะเลจึงมีคลื่นคราวนี้สมการอนุรักษ์พลังงานที่กล่าวมาแล้วไม่มีความละเอียดเพียงพอที่จะอธิบายสิ่งที่มีความละเอียดอ่อนมากกว่าสสารที่เป็นของแข็ง ในกรณีที่สสารเป็นของไหล (คืออากาศและน้ำ) หลักการอนุรักษ์พลังงานที่กล่าวมาแล้วต้องเปลี่ยนไปเล็กน้อย คือต้องมีพจน์ที่สาม (นอกจากพลังงานศักย์และพลังงานจลน์) คือความดันของอากาศ
       
        สมการที่แทนหลักการอนุรักษ์พลังงานจึงถูกปรับมาเป็น สมการแบร์นูลลี ดังในภาพล่างทางซ้ายมือ สมการนี้กล่าวอย่างง่ายๆ ว่า ผลรวมของสามพจน์คือ ความดันบรรยากาศเหนือผิวน้ำ พลังงานจลน์ในหนึ่งหน่วยปริมาตรของน้ำที่ถูกลมพัดให้เคลื่อนที่ และพลังงานศักย์ในหนึ่งหน่วยปริมาตรที่จุดใดจุดหนึ่งย่อมมีค่าคงตัว (ดูสมการในภาพประกอบ) 
       
        เมื่อสามพจน์ของของเหลวใดๆ รวมกันแล้วมีค่าเท่ากับค่าคงตัว นั่นแสดงว่าเมื่อพจน์ใดมีค่าลดลงผลรวมของอีกสองพจน์ที่เหลือจึงต้องมีค่าเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผลรวมของทั้งสามพจน์มีค่าคงตัว (หรือเท่าเดิม)
     
        โปรดพิจารณาภาพข้างล่างนี้ประกอบครับ



เมื่อลมพัดผ่านผิวน้ำด้วยความเร็วลมไม่ได้คงที่ การแปรผันของความเร็วลมส่งผลให้ความดันอากาศบนผิวน้ำเปลี่ยนไป เนื่องจากพจน์หนึ่งเปลี่ยนไป ย่อมส่งผลให้อีกสองพจน์ที่เหลือเปลี่ยนไปด้วย นั่นคือพลังงานจลน์และพลังงานศักย์มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าความดันอากาศต่ำ ย่อมส่งผลให้ความเร็วของน้ำ (ที่เกิดจากลมพัด) สูงขึ้น ในทางกลับกันถ้าความดันอากาศสูงความเร็วของน้ำก็ลดลง นอกจากนี้ ในขณะที่น้ำถูกยกตัวให้สูงขึ้น (เพราะความกดอากาศต่ำ) กระแสลมก็จะพัดเสริมให้ระดับผิวน้ำสูงขึ้นไปอีก ผิวของน้ำทะเลจึงมีลักษณะเป็นคลื่น ดังภาพประกอบ
       
        ยังมีอีกสองคำถามคือ ลมพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง (หรือมีมวลอากาศมากกว่าเพราะอุณหภูมิของอากาศต่ำ) ไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่า คำถามสุดท้าย ทำไมในช่วงมรสุมระดับทะเลจึงสูง เรื่องนี้สามารถทำการทดลองได้ง่ายๆ คือลองเทน้ำลงในจานรองถ้วยกาแฟ แล้วลองใช้ปากเป่าลมให้ขนานกับระดับน้ำในจานดู เราจะพบว่าระดับน้ำที่อยู่ปลายลมจะถูกยกให้สูงขึ้น ในขณะที่น้ำด้านที่อยู่ใกล้ปากจะต่ำลง
       
        ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมจะพัดเข้าหาชายฝั่งอ่าวไทย ทำให้ระดับน้ำ (คนละอย่างกับคลื่น) ในอ่าวไทยสูงขึ้นกว่าเดิม บางพื้นที่อาจจะสูงได้ถึง 50 ซม.ขึ้นอยู่กับความเร็วลมและลักษณะของพื้นที่ มีผู้พบข้อมูลว่าระดับน้ำฝั่งซ้ายกับฝั่งขวาของทะเลสาบสงขลาสูงต่างกันถึง 20 ซม.
       
        พื้นที่กระดาษหมดแล้ว หวังว่าคงไม่ทำให้ท่านสับสนมากขึ้นนะครับ อย่างน้อยก็เป็นการชวนกันคิดจากเด็กอนุบาล
เมื่อลมพัดผ่านผิวน้ำด้วยความเร็วลมไม่ได้คงที่ การแปรผันของความเร็วลมส่งผลให้ความดันอากาศบนผิวน้ำเปลี่ยนไป เนื่องจากพจน์หนึ่งเปลี่ยนไป ย่อมส่งผลให้อีกสองพจน์ที่เหลือเปลี่ยนไปด้วย นั่นคือพลังงานจลน์และพลังงานศักย์มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าความดันอากาศต่ำ ย่อมส่งผลให้ความเร็วของน้ำ (ที่เกิดจากลมพัด) สูงขึ้น ในทางกลับกันถ้าความดันอากาศสูงความเร็วของน้ำก็ลดลง นอกจากนี้ ในขณะที่น้ำถูกยกตัวให้สูงขึ้น (เพราะความกดอากาศต่ำ) กระแสลมก็จะพัดเสริมให้ระดับผิวน้ำสูงขึ้นไปอีก ผิวของน้ำทะเลจึงมีลักษณะเป็นคลื่น ดังภาพประกอบ


       
        ยังมีอีกสองคำถามคือ ลมพัดจากบริเวณที่มีความกดอากาศสูง (หรือมีมวลอากาศมากกว่าเพราะอุณหภูมิของอากาศต่ำ) ไปยังบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่า คำถามสุดท้าย ทำไมในช่วงมรสุมระดับทะเลจึงสูง เรื่องนี้สามารถทำการทดลองได้ง่ายๆ คือลองเทน้ำลงในจานรองถ้วยกาแฟ แล้วลองใช้ปากเป่าลมให้ขนานกับระดับน้ำในจานดู เราจะพบว่าระดับน้ำที่อยู่ปลายลมจะถูกยกให้สูงขึ้น ในขณะที่น้ำด้านที่อยู่ใกล้ปากจะต่ำลง
       
        ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมจะพัดเข้าหาชายฝั่งอ่าวไทย ทำให้ระดับน้ำ (คนละอย่างกับคลื่น) ในอ่าวไทยสูงขึ้นกว่าเดิม บางพื้นที่อาจจะสูงได้ถึง 50 ซม.ขึ้นอยู่กับความเร็วลมและลักษณะของพื้นที่ มีผู้พบข้อมูลว่าระดับน้ำฝั่งซ้ายกับฝั่งขวาของทะเลสาบสงขลาสูงต่างกันถึง 20 ซม.
       
        พื้นที่กระดาษหมดแล้ว หวังว่าคงไม่ทำให้ท่านสับสนมากขึ้นนะครับ อย่างน้อยก็เป็นการชวนกันคิดจากเด็กอนุบาล...



ขอขอบคุณที่มาของภาพและบทความ:
www.manager.co.th